แผงโซล่าเซลล์จะเป็นขยะในอนาคตจริงหรือไม่ ?
สิ่งที่หลายๆ คนยังไม่รู้เกี่ยวกับ แผงโซล่าเซลล์ที่หมดอายุ คือ
1) กกพ. กำหนดให้ผู้ประกอบการติดตั้งโซล่าเซลล์ที่ได้มาตรฐานจะต้องมีระบบการดูแลแผงโซล่าเซลล์เมื่อหมดอายุควบคู่ไปด้วย
2) ส่วนประกอบหลักของแผงโซล่าเซลล์คือ “ทราย” และ “แก้ว” ซึ่งมีกระบวนการ Recycle อยู่แล้ว สารเคมีประกอบน้อยมาก
3) ส่วนประกอบต่างๆ ที่ใช้ผลิตแผงโซล่าเซลล์ เช่น โครงอลูมิเนียม สายไฟ กระจกใสปิดด้านหน้า สามารถนำไป Recycle ได้ และมีแหล่งรับซื้อ
4) ชิ้นส่วนเดียวของแผงโซล่าเซลล์ที่ต้องทำลายทิ้งคือ “เซลล์รับแสง” เท่านั้น
ซึ่งระยะการใช้งานโซล่าเซลล์อยู่ที่ 20-25 ปี หลังจากนี้จะยังใช้งานได้อยู่ แต่ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าจะลดลง เรื่องรีไซเคิลเป็นเรื่อง Demand – Supply ถ้ามีคนติดตั้งเยอะ ก็จะเกิดโรงงานรีไซเคิลเยอะขึ้น สอดคล้องตามนโยบายที่การคาดการณ์ว่าเมื่อแผงโซล่าเซลล์หมดอายุการใช้งานก็อาจจะกลายมาเป็นขยะพลังงานมากมายมหาศาล โดยภายในปี พ.ศ. 2565 – 2601 ซากแผงโซล่าเซลล์สะสม อาจสูงถึง 6.2 -7.9 แสนตัน ที่ก่อให้เกิดปัญหาในอนาคต
ด้วยเหตุนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม จึงหาแนวทางที่จะลดปัญหามลพิษก่อนกำจัดซากแผงโซล่าเซลล์ 3 แนวทาง ได้แก่
1) การรับคืนแผงโซล่าเซลล์ที่หมดอายุ
2) การเปิดโรงงานซ่อมแซมแผงโซล่าเซลล์เพื่อนำกลับมาใช่ใหม่
3) การรับซากแผงโซล่าเซลล์กลับมาผ่านกระบวนการรีไซเคิล
พร้อมมีแนวคิดให้มีการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในการขออนุญาตจัดตั้งโรงงานซ่อมแซมแผงโซล่าเซลล์และโรงงานรีไซเคิล ซากแผงโซล่าเซลล์ โดยมีเป้าหมาย ที่จะจัดตั้งโรงงานใน 10 จังหวัดปริมณฑลและตามหัวเมืองในแต่ละภูมิภาค จังหวัดละ 10 แห่งในช่วงแรกคาดว่าจะมีโรงงานทั้ง 2 ประเภทรวมกันประมาณ 100 แห่ง
กรมโรงงานอุตสาหกรรม คาดการณ์ว่าจากการประเมินปีที่เริ่มมีการติดตั้ง พ.ศ.2545 – 2579 จะเกิดซากเซลล์สะสมประมาณ 7.5 แสนตัน (ปีที่เกิดซาก พ.ศ. 2560 – 2604) จึงได้ดำเนินการจัดทำแผนแม่บทในการจัดการซากผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ : เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) โดยมุ่งผลักดันการจัดตั้งโรงงานรีไซเคิลซากโซล่าเซลล์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนอย่างคุ้มค่า รวมถึงได้วางแนวทางการบูรณาการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการจัดการซากเซลล์แสงอาทิตย์อย่างครบวงจร (*ข้อมูลจาก กองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม)