ก้าวข้ามขีดจำกัด นวัตกรรมใหม่เอาชนะฝุ่นบนแผงโซล่าเซลล์
ในยุคที่การใช้พลังงานสะอาด หรือพลังงานหมุนเวียนกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น แผงโซล่าเซลล์กลายเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ได้รับความสนใจสำหรับการผลิตพลังงานอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม หนึ่งในปัญหาหลักที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์คือ ‘ฝุ่น’ ที่สามารถเกาะบนพื้นผิวของแผงโซลาร์เซลล์ได้ ในบทความนี้ เราจะมาสำรวจผลกระทบที่เกิดจากฝุ่นต่อแผงโซล่าเซลล์ และวิธีการจัดการกับปัญหานี้อย่างมีประสิทธิภาพกัน
1.ผลกระทบของฝุ่นต่อแผงโซล่าเซลล์
1.1. ประสิทธิภาพในการผลิตพลังงานลดลง
ประสิทธิภาพการผลิตพลังงานลดลงเป็นหนึ่งในผลกระทบหลักของการที่ฝุ่นเกาะบนแผงโซล่าเซลล์ โดยฝุ่นที่เกาะจะสามารถลดปริมาณแสงอาทิตย์ที่ผ่านเข้าสู่เซลล์ได้ และจะทำให้ไม่สามารถดูดซับพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้อย่างเต็มที่ หรือจะเป็นฝุ่นที่เกาะไม่เท่ากันทั่วทั้งแผงโซล่าเซลล์อาจทำให้เกิด “Hot Spots” หรือจุดที่แผงโซล่าเซลล์ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้พลังงานที่ผลิตออกมาไม่สม่ำเสมอและอาจส่งผลเสียต่อระบบไฟฟ้าโดยรวม ทำให้ประสิทธิภาพในการแปลงแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
ดังนั้นการลดลงของประสิทธิภาพนี้ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อกำลังการผลิตเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อจุดคุ้มทุนจากการลงทุนในระยะยาว ทำให้เป็นสาเหตุสำคัญที่จะต้องจัดการกับปัญหาฝุ่นบนแผงโซล่าเซลล์อย่างจริงจังโดยเร็วที่สุด
1.2. สะสมความร้อนมากเกินไป
ปัญหาของการสะสมความร้อนบนแผงโซล่าเซลล์เป็นอีกหนึ่งผลกระทบสำคัญที่เกิดจากการเกาะของฝุ่น ซึ่งส่งผลอย่างมากต่อประสิทธิภาพและอายุการใช้งานของแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งเกิดจากการทีมีความร้อนเกินกว่าปกติ เนื่องจากแผงโซล่าเซลล์มักทำงานได้ดีที่สุดในอุณหภูมิที่เหมาะสม การสะสมความร้อนจากฝุ่นที่เกาะจึงทำให้อุณหภูมิของแผงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการแปลงแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าลดลง และกลายเป็นความเสียหายที่เรียกว่า “Hot Spots” โดยหากเกิดการสะสมความร้อนที่ไม่สม่ำเสมอบนแผงโซล่าเซลล์
จะสามารถทำลายเซลล์ภายในแผงได้ และอาจนำไปสู่ความเสียหายอย่างถาวร ทั้งนี้อาจส่งผลรวมไปถึงการเสื่อมสภาพของวัสดุและการลดลงของประสิทธิภาพการผลิตพลังงานในระยะยาวด้วย
2.วิธีจัดการกับปัญหาฝุ่นบนแผงโซล่าเซลล์
2.1. ล้างและทำความสะอาดแผงอย่างสม่ำเสมอ
การลงทุนในการล้างทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ จะสามารถช่วยขจัดฝุ่นและสิ่งสกปรกที่มาบดบังแสงอาทิตย์ที่ทำให้ลดประสิทธิภาพการผลิตพลังงานของแผง โดยวิธีการทำความสะอาดที่แนะนำคือ การใช้น้ำสะอาดและแปรงนุ่ม หรืออุปกรณ์ทำความสะอาดเฉพาะทางที่ออกแบบมาสำหรับการล้างทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ และควรระวังการใช้สารเคมีหรืออุปกรณ์ที่มีความหยาบอาจทำให้เกิดความเสียหายได้
ส่วนของความถี่ในการล้างและทำความสะอาด ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่แผงติดตั้ง โดยสำหรับพื้นที่ที่มีฝุ่นเยอะหรือมีการปล่อยมลพิษสูง อาจจำเป็นต้องทำความสะอาดบ่อยกว่าปกติ
2.2. ใช้เทคโนโลยีเพื่อลดการเกาะติดของฝุ่น
การใช้น้ำยาเคลือบพื้นผิวโซลาร์เซลล์ จากเทคโนโลยีเคลือบนาโน (Nano Coating) ดร.ธันยกร อธิบายว่า เป็นการพัฒนาสูตรขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดการเกาะของฝุ่นบนพื้นผิว และยังมีคุณสมบัติสะท้อนน้ำ โดยของเหลวที่ตกกระทบพื้นผิววัสดุที่ผ่านการเคลือบจะมีลักษณะเป็นก้อนกลมกลิ้งไหลออกจากพื้นผิว ลดการยึดเกาะและช่วยชำระล้างฝุ่น รวมถึงสิ่งสกปรกต่างๆ ออกจากแผงโซลาร์เซลล์โดยไม่ทิ้งคราบน้ำ ทำให้แผงผลิตไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 5 ในช่วงหน้าแล้ง
3. สรุป
นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังออกแบบและพัฒนาสูตรน้ำยาเคลือบให้ใช้งานง่ายในรูปแบบสเปรย์ และปาดเคลือบ โดยจุดเด่นของสารเคลือบนาโนสูตรพิเศษนี้คือ แผงโซล่าเซลล์จะสามารถชำระล้างออกตามธรรมชาติได้ภายใน 1-2 ปี และไม่ส่งผลต่อการรับประกันแผง อีกทั้งยังผ่านการทดสอบความปลอดภัยต่อผู้ใช้ เนื่องจากโดยปกติแล้วจำนวนความถี่ของการล้างทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์จะอยู่ที่ประมาณ 6 เดือน – 1 ปี เพื่อไม่ให้ประสิทธิภาพต่อการผลิตไฟฟ้าลดน้อยลง แต่การใช้น้ำยาเคลือบพื้นผิวโซลาร์เซลล์ จากเทคโนโลยีเคลือบนาโน (Nano Coating) จะสามารถอยู่ได้นานถึง
1 – 2 ปี ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการล้างทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ได้ในระยะยาว
การจัดการและวิธีแก้ไขกับปัญหาเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้แผงโซล่าเซลล์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ซึ่งหมายความว่าการทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์เป็นประจำและใช้เทคโนโลยีเพื่อลดการเกาะติดของฝุ่นไม่เพียงแต่เป็นสิ่งจำเป็นในการรักษาประสิทธิภาพ แต่ยังช่วยป้องกันความเสียหายจากความร้อนที่สะสมได้อีกด้วย
สนใจ ติดตั้งโซล่าเซลล์