Clicky
0 ฿0

“Nano Coating” นวัตกรรมสำหรับดูแล แผงโซล่าเซลล์ของคุณ

Nano Coating นวัตกรรม สำหรับดูแลซล่าเซลล์

“Nano Coating” นวัตกรรมสำหรับดูแล แผงโซล่าเซลล์ของคุณ

     อย่างที่เราทราบกันว่า “โซล่าเซลล์” เป็นอุปกรณ์ที่แปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยปกติแล้วประสิทธิภาพในการทำงานของโซล่าเซลล์จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งภายในและภายนอก เช่น คุณสมบัติทางโครงสร้าง ทิศทางการติดตั้ง อายุการใช้งาน ความเข้มของแสง การบดบังของแสง อุณหภูมิ มลพิษและความสะอาด เป็นต้น

เกิดอะไรขึ้นเมื่อมีฝุ่นเกาะ แผงโซล่าเซลล์ ?

     ฝุ่น นับว่า เป็นปัญหาใหญ่สำหรับโซลาร์เซลล์ ที่จะส่งผลทำให้ประสิทธิภาพในการรับแสงอาทิตย์ที่จะนำไปผลิตเป็นไฟฟ้าลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้โซล่าเซลล์เพื่อการผลิตไฟฟ้าในระดับโรงงานอุตสาหกรรมหรือการทำโซล่าฟาร์มที่ต้องติดตั้งแผงจำนวนมาก เนื่องจากช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน หรือช่วงหน้าแล้งนั้น ประเทศไทยต้องเจอกับปัญหาเรื่องฝุ่นจำนวนมาก ส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของโซลาร์เซลล์ลดลง 6-8% และหากเป็นกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่มีเขม่าควันหรือละอองน้ำมันจับที่หน้าแผง ประสิทธิภาพอาจลดลงได้ถึง 9-10%

แล้วจะแก้ปัญหา ที่เกิดจากฝุ่นอย่างไร ?

     โดยปกติแล้วก็จะมีการแก้ปัญหาด้วยการล้างทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์อย่างสม่ำเสมอ แต่ก็จะมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ทั้งยังต้องใช้ช่างที่มีประสบการณ์และมีใบประกอบวิชาชีพสำหรับทำงานบนที่สูง ในกรณีที่มีการติดตั้งโซล่าเซลล์ไว้บนหลังคาหรือที่สูง และยังต้องคำนึงถึงความชำนาญในการทำความสะอาด ความเสี่ยงของรอยขีดข่วน เพราะการชำรุดของโซล่าเซลล์จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของการผลิตไฟฟ้า

     “ น้ำยาเคลือบพื้นผิวโซลาร์เซลล์” จากเทคโนโลยีเคลือบนาโน (Nano Coating) เป็นการพัฒนาสูตรขึ้นมาใหม่เป็นพิเศษ โดยปรับค่ามุมสัมผัสของน้ำบนวัสดุ (Water Contact Angle) เพื่อเพิ่มคุณสมบัติการลดการเกาะของฝุ่นให้แก่พื้นผิว และยังมีคุณสมบัติสะท้อนน้ำ โดยของเหลวที่ตกกระทบพื้นผิววัสดุที่ผ่านการเคลือบ จะมีลักษณะเป็นก้อนกลมกลิ้งไหลออกจากพื้นผิว ลดการยึดเกาะและชำระล้างฝุ่น รวมถึงสิ่งสกปรกต่างๆออกจากแผงโซลาร์เซลล์โดยไม่ทิ้งคราบน้ำ ทำให้แผงผลิตไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 5 ในช่วงหน้าแล้ง ” 

Solar-Nano-Coating-Manual-วิธีใช้สารเคลือบแผง

วิธีการใช้งานน้ำยาเคลือบพื้นผิวโซล่าเซลล์มีขั้นตอนดังนี้

  1. ทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์ให้สะอาด เพื่อชำระคราบสิ่งสกปรกต่างๆบนแผง
  2. ใช้น้ำยาปรับสภาพพื้นผิวเช็ดถูให้ทั่วแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อให้แผงโซลาร์เซลล์สามารถถูกเคลือบด้วยน้ำยานาโนได้ดี
  3. เคลือบแผงโซลาร์เซลล์ด้วยน้ำ Nano coating โดยใช้อุปกรณ์ไม้เคลือบเฉพาะ ในการเคลือบ
  4. หลังจากใช้น้ำยา Nano coatingเคลือบลงบนแผงโซล่าเซลาร์เซลล์แล้ว ปล่อยให้น้ำยาเคลือบแห้งสนิทและเซ็ตตัวประมาณ 30 นาที เพื่อให้มีประสิทธิภาพ ในการป้องกันฝุ่นได้อย่างดี โดยขณะที่รอน้ำยาแห้งสนิท ห้ามลูบ ถู เช็ด สัมผัส หรือถูกน้ำ เช่น ฝนตก เพราะจะทำให้น้ำยาเคลือบแผงโซลาร์เซลล์ที่เคลือบแล้วหลุดออกได้

     นอกจากนี้น้ำยา 1 ลิตร สามารถเคลือบได้สูงสุด 30แผง โดยแผงที่ 1 จะใช้ปริมาณน้ำยา 150 มิลลิลิตร ราดลงบนผ้าให้ชุ่มแล้วเคลือบ ต่อมาแผงที่ 2-6 จะใช้ปริมาณน้ำยาแผงละ 50 มิลลิลิตร ราดลงบนผ้าให้ชุ่มแล้วเคลือบ เมื่อเคลือบผ่านไป 6 แผงแล้ว ผ้าจะมีความชุ่มน้ำยาเพียงพอ จึงสามารถเติมน้ำยา ลงบนผ้า 50 มิลลิตรต่อการเคลือบ 2 แผง จนครบ 30 แผง ตั้งแต่แผงที่ 7 ถึง 30 นั่นเอง

     นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังออกแบบและพัฒนาสูตรน้ำยาเคลือบให้ใช้งานง่ายในรูปแบบสเปรย์ และปาดเคลือบ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพพื้นผิววัสดุ ซึ่งเป็นอีกจุดเด่นของสารเคลือบนาโนสูตรพิเศษคือ การลดข้อจำกัดด้านการเคลือบโซลาร์เซลล์ ที่ปัจจุบันในท้องตลาดจะเป็นการเคลือบแบบถาวร ซึ่งการเคลือบถาวรนี้ จะส่งผลให้การรับประกันแผงโซลาร์เซลล์ในระยะเวลา 25 ปี ถูกยกเลิก แต่หากใช้สารเคลือบนาโนนี้ ยังสามารถชำระล้างออกตามธรรมชาติได้ภายใน 1-2 ปี ไม่ส่งผลต่อการรับประกันแผง อีกทั้งยังผ่านการทดสอบความปลอดภัยต่อผู้ใช้

ลงทะเบียน

เพื่อ รับสินเชื่อ คืนทุนไวขึ้น!!

*ระยะเวลาคืนทุนขึ้นอยู่กับการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน

สินค้าในตะกร้า
ไม่มีสินค้าในตะกร้า
Calculate Shipping
ใช้โค้ดส่วนลด