Clicky
0 ฿0

4 ขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ ฉบับปี 2567

4 ขั้นตอนการขออนุญาต ติดตั้งโซล่าเซลล์ ฉบับปี 2567

4 ขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ ฉบับปี 2567

     เบื่อไหม? กับค่าไฟที่พุ่งสูง กระเป๋าแฟบฉับไว แทบไม่มีเงินเหลือเก็บ ใฝ่ฝันอยากมีบ้านพลังงานสะอาด ผลิตไฟฟ้าใช้เอง ประหยัดค่าไฟ สร้างรายได้ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร? บอกลาความกังวล เพราะวันนี้เรามี “คู่มือฉบับสมบูรณ์” พาคุณไปรู้จักกับ 4 ขั้นตอนง่ายๆ สู่การขออนุญาตติดตั้ง “โซล่าเซลล์” เปลี่ยนบ้านของคุณให้กลายเป็น “โรงไฟฟ้าส่วนตัว”
พร้อมแล้วหรือยัง? ลุยกันเลย!

4 ขั้นตอนการขออนุญาต ติดตั้งโซล่าเซลล์ ฉบับปี 2567 (2)

หลักเกณฑ์ในการยื่นขออนุญาตเพื่อติดตั้งโซล่าเซลล์

จะพิจารณาจากขนาดการผลิตกระแสไฟฟ้าของระบบโซล่าเซลล์ที่ติดตั้ง โดยมี 3 เงื่อนไขดังนี้

  • เงื่อนไขที่ 1 แผงโซล่าเซลล์ (PV) < 200kWp (<200,000 วัตต์)
  • เงื่อนไขที่ 2 แผงโซล่าเซลล์ (PV) ≥ 200kWp แต่ไม่เกิน 1,000kWp (200,001 วัตต์ – 1,000,000 วัตต์)
  • เงื่อนไขที่ 3 แผงโซล่าเซลล์ (PV) ≥ 1,000kWp (1,000,000 วัตต์ขึ้นไป)

ตามโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาสำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย (ประเภทที่ 1) ต้องมีขนาดกำลังการผลิตติดตั้งไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ (kWp) เท่านั้น ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถขายไฟฟ้าส่วนที่เหลือคืนให้กับการไฟฟ้าในอัตรารับซื้อไฟฟ้า 2.2 บาท/หน่วย เป็นระยะเวลา 10 ปี แต่หากไม่เข้าร่วมโครงการโซล่าภาคประชาชนสามารถติดตั้งได้มากกว่า 10 กิโลวัตต์ (kWp)

ขั้นตอนขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ฉบับปี 2567

1. การยื่นใบขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ต่อหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น

     อันดับแรกจะต้องแจ้งหรือขออนุญาตราชการส่วนท้องถิ่นเพื่อดัดแปลงบ้านและอาคารสำหรับการติดตั้งโซล่าเซลล์ โดยต้องผ่านการตรวจสอบความแข็งแรงในการติดตั้งโซล่าเซลล์และมีลายเซ็นรับรองจากวิศวกรโยธาที่มีใบประกอบวิชาชีพวิศวกรอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

เอกสารที่ใช้เพื่อยื่นขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์
  1. เอกสารแบบแปลนแสดงแผนผังและโครงสร้างหลังคา โครงสร้างรองรับแผงโซล่าเซลล์
  2. เอกสารรายละเอียดการติดตั้งโซล่าเซลล์
  3. ใบอนุญาตดัดแปลงอาคารเพื่อขออนุญาตปรับปรุงอาคาร (อ.1) สำหรับกรณีที่ต้องการพื้นที่ติดตั้งโซล่าเซลล์เกิน 160 ตารางเมตร และน้ำหนักเกิน 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
  4. ใบคำร้องแจ้งให้ทราบ ในกรณีที่ติดตั้งโซล่าเซลล์บนพื้นที่ไม่เกิน 160 ตารางเมตร และน้ำหนักไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ไม่ต้องยื่นใบ อ.1)
ยื่นเรื่องเพื่อขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ที่ไหน?

     สามารถยื่นเรื่องได้ที่หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในปัจจุบัน เช่น สำนักงานเขต, สำนักงานเทศบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น

2. การแจ้งขอยกเว้นการรับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าต่อสำนักงาน กกพ.

     อันดับที่สองยื่นเรื่องต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดยพิจารณาตามขนาดกำลังการผลิตติดตั้งโซล่าเซลล์บนบ้านและอาคาร ซึ่งมีเกณฑ์การพิจารณาเพื่อรับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้า ดังนี้

1. กรณีที่โซล่าเซลล์มีกำลังผลิตติดตั้งน้อยกว่า 1,000 กิโลวัตต์สูงสุด (kWp)
  • ติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้าน ร้านค้าขนาดเล็ก และออฟฟิศขนาดเล็ก
  • ให้แจ้งขอยกเว้นการรับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าจาก กกพ.
2. กรณีที่โซล่าเซลล์มีกำลังผลิตติดตั้งมากกว่าหรือเท่ากับ 1,000 กิโลวัตต์สูงสุด (kWp)
  • ติดตั้งโซล่าเซลล์สำหรับห้างสรรพสินค้า โรงงาน ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กและรายใหญ่ ฯลฯ
  • ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้า
เอกสารที่ใช้เพื่อแจ้งขอยกเว้นการรับใบอนุญาต
  • ชื่อ สัญชาติ และถิ่นที่อยู่ของเจ้าของกิจการพลังงาน (เจ้าของบ้าน)
  • ที่ตั้งของสถานประกอบกิจการพลังงาน (ที่ตั้งของโซล่าเซลล์)
  • ประเภทและขนาดของกิจการพลังงาน (รูปแบบและขนาดของโซล่าเซลล์)
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้แจ้ง
  • กรณีที่ผู้แจ้งไม่ใช่เจ้าของกิจการพลังงาน ให้เตรียมหนังสือมอบฉันทะ สำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบฉันทะ
  • เอกสารอื่น ๆ ตามที่ กกพ. กำหนด
การดำเนินการเรื่องเอกสาร
  • เมื่อดำเนินการเรื่องเอกสารเรียบร้อยแล้ว สำนักงาน กกพ. จะให้หนังสือการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตกลับมา
การดำเนินการเรื่องเอกสาร
  • บ้านหลังไหนที่ต้องการติดตั้งโซล่าเซลล์ สามารถแจ้งขอยกเว้นการรับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าได้ที่สำนักงาน กกพ. หรือลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ https://www.erc.or.th/th/all-exception/

3. ยื่นเรื่องขออนุญาตเชื่อมขนานกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าต่อ กฟน. หรือ กฟภ.

     อันดับต่อไปจะเป็นการยื่นเรื่องขอติดตั้งระบบโซล่าเซลล์บ้านขนานกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้า เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ภายในบ้านและอาคาร โดยสามารถยื่นเรื่องได้ทั้งหมด 2 กรณี
  1. เพื่อใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและอาคารเพียงอย่างเดียว – จะต้องออกแบบระบบป้องกันไม่ให้มีการจ่ายกระแสไฟฟ้ากลับสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้า จนระบบไฟฟ้าเกิดความเสียหายต่อผู้ใช้ไฟฟ้ารายอื่น
  2. เพื่อใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อาคาร และขายไฟฟ้าส่วนเกินให้กับการไฟฟ้า – เจ้าของบ้านจะต้องเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 ตามประกาศของการไฟฟ้า (ผู้ใช้ไฟฟ้าในบ้านที่อยู่อาศัย) ซึ่งมีระบบไฟฟ้าที่สามารถขายไฟฟ้าส่วนเกินให้กับการไฟฟ้าได้ ในราคาหน่วยละ 2.20 บาท
เอกสารที่ใช้เพื่อยื่นขอเชื่อมขนานกับระบบโครงข่ายไฟฟ้า
  • แบบคำขอเชื่อมต่อขนานกับระบบโครงข่ายไฟฟ้า
  • หนังสือจดแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต ที่ได้รับจากสำนักงาน กกพ.
  • ใบอนุญาตดัดแปลงอาคารเพื่อขออนุญาตปรับปรุงอาคาร (อ.1)
  • แบบแปลนโครงสร้างการติดตั้ง ที่ได้รับการตรวจสอบความแข็งแรง และเซ็นรับรองโดยวิศวกรโยธาที่มีใบประกอบวิชาชีพวิศวกร
  • แบบ Single Line Diagram ที่มีการลงนามรับรองโดยวิศวกรไฟฟ้า
  • สำเนาใบประจำตัวผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรที่เป็นผู้เซ็นรับรองเอกสาร
  • เอกสารแสดงรายละเอียดคุณสมบัติของแผงโซล่าเซลล์ และอินเวอร์เตอร์
  • Mini COP รายการตรวจสอบมาตรการด้านการออกแบบติดตั้งตามประมวลหลักการปฏิบัติ
  • เอกสารมอบอำนาจ ในกรณีที่ให้ตัวแทนดำเนินการขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์แทน
     หมายเหตุ* กรณีที่ต้องการติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อใช้ในอาคาร และขายไฟฟ้าคืน จะต้องเตรียมแบบแจ้งความประสงค์ในการใช้งาน พร้อมกับรายละเอียดของอุปกรณ์ควบคุมการจ่ายไฟไหลย้อนเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าเพิ่มเติมด้วย
ยื่นเรื่องเพื่อขอเชื่อมขนานกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าที่ไหน?
  • สำหรับบ้านและอาคารที่จะติดตั้งโซล่าเซลล์ในกรุงเทพฯ, จ.นนทบุรี และ จ.สมุทรปราการ ให้ดำเนินการกับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โดยสามารถยื่นเรื่องผ่านเว็บไซต์ myenergy.mea.or.th
  • ส่วนบ้านและอาคารที่ตั้งอยู่นอกพื้นที่กรุงเทพฯ, จ.นนทบุรี และ จ.สมุทรปราการ ให้ดำเนินการกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และสามารถยื่นเรื่องผ่านเว็บไซต์ ppim.pea.co.th

4. รับการตรวจสอบระบบโซล่าเซลล์จากเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า

     หลังจากที่ดำเนินการยื่นเอกสารขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์และหน่วยงานทั้งสามแห่งได้ตรวจสอบเอกสารเรียบร้อยแล้ว การไฟฟ้าในพื้นที่จะส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบระบบโซล่าเซลล์บ้านและการเชื่อมระบบไฟฟ้าขนานกับระบบโครงข่ายว่าเป็นไปตามข้อกำหนดหรือไม่
     จากนั้น เจ้าของบ้านจะต้องเปลี่ยนมิเตอร์แบบธรรมดาให้เป็นมิเตอร์ดิจิทัล พร้อมกับติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับสู่ระบบโครงข่ายของการไฟฟ้า โดยจะมีค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบการเชื่อมระบบไฟฟ้า ค่าอุปกรณ์ และค่าอื่น ๆ ที่ต้องชำระให้กับการไฟฟ้า
     ขั้นตอนขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์เหล่านี้เป็นฉบับล่าสุดที่ทาง SOLAR WING ได้รวบรวมมาให้แล้ว โดยในปัจจุบัน หน่วยงานด้านพลังงานอย่าง กกพ., กฟน., และ กฟภ. ได้พัฒนาระบบลงทะเบียนออนไลน์และแอปพลิเคชันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเจ้าของบ้านที่จะติดตั้งโซล่าเซลล์ แต่ทั้งนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนและวิธีการดำเนินการเพิ่มเติมในอนาคต
     ติดตามความเคลื่อนไหวพร้อมกับแจ้งให้ทุกคนทราบต่อไปในภายหลังอีกครั้งง่ายๆ แค่นี้ คุณก็สามารถเปลี่ยนบ้านของคุณให้กลายเป็น “บ้านพลังงานสะอาด” ประหยัดค่าไฟ สร้างรายได้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

     หากสนใจตอนนี้! ติดตั้งโซลาร์เซลล์กับเราสามารถติดต่อมาได้เลยที่ EV Power Energy บริการจัดจำหน่ายและติดตั้งโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ Inverter อุปกรณ์การติดตั้ง จุดชาร์จ EV สารเคลือบแผง Nano Coating อุปกรณ์ต่างๆของ Huawei และการออกแบบกรอบอาคารประหยัดพลังงาน ประสบการณ์กว่า 10 ปี พร้อมบริการทั่วประเทศ!!! หรือติดต่อได้ที่

โทรศัพท์ 050 000 864 , 090 456 6646
Facebook : EV Power Energy
Instagram : evpowerenergy
Line : @evpowerenergy

ให้บริการและให้คำปรึกษาโดยทีมช่างที่ชำนาญและมีประสบการณ์

ลงทะเบียน

โปรโมชัน โซล่าเซลล์ ราคาพิเศษ

*ระยะเวลาคืนทุนขึ้นอยู่กับการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน

สินค้าในตะกร้า
ไม่มีสินค้าในตะกร้า
Calculate Shipping
ใช้โค้ดส่วนลด