Google นำร่อง ใช้พลังงาน ความร้อนใต้พิภพ ในศูนย์ข้อมูลแห่งแรกของโลก
โครงการพลังงานความร้อนใต้พิภพแห่งแรกของ Google เริ่มต้นขึ้นในกลางทะเลทรายเนวาดา สหรัฐอเมริกา โดยโครงการนี้จะช่วยจ่ายพลังงานสะอาดให้กับศูนย์ข้อมูลของ Google ตลอด 24 ชั่วโมงในอนาคต
ที่มาของ "Green Internet" แบบ Google
เกิดจากการที่ Google ต้องรับมือกับความท้าทายที่บริษัทเทคโนโลยีทั่วโลกเผชิญอยู่ นั่นคือเรื่อง “พลังงาน” โดยเฉพาะกับศูนย์ข้อมูล (Data Center) ที่ใช้พลังงานสูงมาก ปัจจุบัน Google ใช้พลังงานจากลมและแสงอาทิตย์ในการขับเคลื่อนการประมวลผลแบบคลาวด์จำนวนมหาศาล ซึ่งเป็นพื้นฐานของบริการอินเทอร์เน็ตและแอปต่าง ๆ แต่เนื่องจากลมและแสงแดดไม่ได้มีตลอดเวลา การไหลเวียนของพลังงานจึงไม่เสถียร แม้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา Google ได้ซื้อพลังงานหมุนเวียนเพียงพอต่อการใช้พลังงานประจำปีของการดำเนินงานด้านข้อมูล แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดที่มาจากแหล่งพลังงานสะอาด
งานนี้ Google ร่วมมือกับสตาร์ทอัพ Fervo ซึ่งได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ในการควบคุมพลังงานความร้อนใต้พิภพที่แตกต่างจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพแบบเดิม แม้โครงการนี้ยังมีขนาดค่อนข้างเล็กและมีกำลังการผลิตเพียง 3.5 เมกะวัตต์ แต่พลังงานเพียงหนึ่งเมกะวัตต์ก็เพียงพอตอบสนองความต้องการใช้พลังงานของครัวเรือนประมาณ 750 หลังคาเรือน ซึ่งหมายความว่า พลังงาน 3.5 เมกะวัตต์จะเพียงพอสำหรับบ้านเรือนประมาณ 2,600 ครอบครัว
โครงการนี้จะจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่โครงข่ายท้องถิ่นที่ให้บริการศูนย์ข้อมูลของ Google สองแห่งนอกลาสเวกัสและรีโน โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนของ Google ที่จะใช้ไฟฟ้าปราศจากมลภาวะจากคาร์บอนตลอด 24 ชั่วโมงภายในปี 2030 เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ Google จะต้องนำแหล่งพลังงานสะอาดทางออนไลน์มากขึ้น และ Google มองว่า “ความร้อนใต้พิภพ” จะเป็นแหล่งพลังงานสำคัญในการผสมผสานกับไฟฟ้าในอนาคต ซึ่งสามารถช่วยเติมเต็มพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ได้
โครงการนี้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2021 เมื่อ Google ประกาศ “ข้อตกลงองค์กรฉบับแรกของโลกในการพัฒนาโครงการพลังงานความร้อนใต้พิภพยุคต่อไป”
เรารู้กันดีว่าพลังงานความร้อนใต้พิภพมาจากความร้อนภายในโลก แต่ความพยายามของโครงการนี้ไม่ใช่แค่โรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพธรรมดา ซึ่งตามปกติจะดึงของเหลวร้อนจากแหล่งกักเก็บธรรมชาติเพื่อผลิตไอน้ำไปหมุนกังหัน
โปรเจ็กต์ใหม่นี้มีชื่อว่า Project Red ถูกสร้างขึ้นในบริเวณที่ Terrell กล่าวว่าในพื้นที่นั้น “มีแต่หินร้อน แต่ไม่มีของเหลว”
เพื่อสร้างพลังงานความร้อนใต้พิภพจาก “หินร้อน” Fervo ต้องเจาะบ่อน้ำลึกลงไปใต้ดินมากกว่า 7,000 ฟุตจำนวน 2 บ่อ จากนั้นส่งแรงอัดน้ำผ่านรอยแตกในร่องหินลงไปข้างล่างที่มีหินร้อนอยู่ เมื่อน้ำกระทบหินร้อนก็จะกลายเป็นไอน้ำและตีกลับขึ้นมาที่พื้นผิวโลกในปริมาณมหาศาล ด้วยความที่เป็นระบบวงจรปิด น้ำจึงสามารถนำมาใช้วนซ้ำได้อีก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในภูมิภาคที่เสี่ยงต่อภัยแล้ง เช่น เนวาดาที่มีภูมิประเทศเป็นทะเลทราย
ยิ่งกว่านั้น Fervo ยังติดตั้งสายเคเบิลใยแก้วนำแสงภายในทั้งสองหลุมเพื่อรวบรวมข้อมูลแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับการไหล อุณหภูมิ และประสิทธิภาพของระบบความร้อนใต้พิภพ “หินร้อน” ใต้โลกมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง โดยให้อุณหภูมิสูงถึงหลายร้อยองศาภายในระยะไม่กี่กิโลเมตรลงไปใต้พื้นผิวโลก แต่โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพยังให้พลังงานไฟฟ้าในสัดส่วนเพียงเล็กน้อยในโลกปัจจุบัน
หากคุณอยากอัพเดตเทรนด์ และข่าวสารต่างๆ ติดตามมาได้เลยที่ EV Power Energy บริการจัดจำหน่ายและติดตั้งโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ Inverter อุปกรณ์การติดตั้ง จุดชาร์จ EV สารเคลือบแผง Nano Coating อุปกรณ์ต่างๆของ Huawei และการออกแบบกรอบอาคารประหยัดพลังงาน ประสบการณ์กว่า 10 ปี พร้อมบริการทั่วประเทศ!!! หรือติดต่อได้ที่
โทรศัพท์ 050 000 864 , 090 456 6646
Facebook : EV Power Energy
Instagram : evpowerenergy
Line : @evpowerenergy
โปรโมชัน โซล่าเซลล์ ราคาพิเศษ
*ระยะเวลาคืนทุนขึ้นอยู่กับการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน