บลูคาร์บอน (Blue Carbon) : แหล่งกักเก็บคาร์บอนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดผ่านระบบนิเวศสู่ Net Zero ได้เร็วขึ้น
ท่ามกลางวิกฤตการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกลายเป็นภารกิจเร่งด่วน หนึ่งในแนวทางสำคัญคือ การเสริมสร้าง “แหล่งกักเก็บคาร์บอน” ธรรมชาติ ซึ่ง “Blue Carbon” หรือคาร์บอนในระบบนิเวศทางทะเล กลายเป็นดาวเด่นที่น่าจับตาในตอนนี้
Blue Carbon คืออะไร?
Blue Carbon หมายถึง คาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกดูดซับและกักเก็บไว้ในระบบนิเวศชายฝั่งทะเล เช่น ป่าชายเลน หญ้าทะเล และพื้นที่ชุ่มน้ำเค็ม ระบบนิเวศเหล่านี้ทำหน้าที่เหมือนปอดของโลก ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศ และกักเก็บไว้ใต้ดิน
ทำไม Blue Carbon ถึงสำคัญ?
ปัจจุบัน ระบบนิเวศ Blue Carbon กระจายตามชายฝั่งทะเลทั่วโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 185 ล้านเฮกตาร์ และมีศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนสูงกว่า 30,000 TgC (1 TgC เท่ากับ 1 ล้านตันคาร์บอน) หรือประมาณ 3 หมื่นล้านล้านตันคาร์บอน ทำให้สามารถลดผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 141 – 146 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และในขณะเดียวกันแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีป่าชายเลนมากที่สุด และเป็นพื้นที่ที่มีป่าชายเลนมากที่สุดอันดับ 1 ใน 3 ของโลก
ระบบนิเวศ Blue Carbon จะช่วยให้คาร์บอนตกตะกอนในมหาสมุทรถึง 50% โดยหนึ่งในนั้นคือ หญ้าทะเล สามารถกักเก็บปริมาณคาร์บอนไว้ในชั้นดินได้ถึง 95% ดังนั้น หากป่าชายเลนลดลง จะส่งผลให้ปริมาณการปล่อยคาร์บอนเพิ่มขึ้นประมาณ 10%
ยกตัวอย่างเช่น หญ้าทะเล 1 เฮกตาร์ (6 ไร่ 1 งาน) สามารถดูดซับคาร์บอนได้ประมาณ 330 ตันต่อปี หรือเทียบเท่ากับไร่ละ 52.8 ตัน ปริมาณคาร์บอนนี้เทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการขับรถ 1 คันในระยะทางประมาณ 3,350 กิโลเมตร หรือเทียบเท่ากับระยะทางระหว่างกรุงเทพ-ปักกิ่ง อีกตัวอย่างเช่น หญ้าทะเล 1 ตารางเมตรสามารถผลิตออกซิเจนที่เราสามารถหายใจได้ประมาณ 10 ลิตรต่อวัน
แล้วทำไมศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนในระบบนิเวศถึงดีกว่าบนบก
ระบบนิเวศบนบก มีป่าไม้เป็นตัวดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่สำคัญ ป่า 1 ไร่ สามารถกักเก็บคาร์บอนได้ประมาณ 2.5 – 5 ตันต่อปี แต่ Blue Carbon ระบบนิเวศ “Blue Carbon” มีศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนมากกว่าระบบนิเวศบนบกถึง 5 – 10 เท่า เนื่องจากสามารถดึงคาร์บอนประมาณ 50-90% ไปกักเก็บไว้ในรากและตะกอนดินที่มีน้ำทะเลท่วมขัง ซึ่งคาร์บอนเหล่านี้จะถูกกักเก็บได้นานนับพันปีถ้าไม่ถูกรบกวน
แต่ในขณะเดียวกัน Green Carbon เช่น ป่าฝน มีความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนไว้ในชีวมวลและปล่อยกลับมาเมื่อต้นไม้ตาย อย่างไรก็ตาม Blue Carbon มีความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนสูงกว่าป่าไม้อย่างน้อย 5 – 10 เท่า เป็นเครื่องมือสำคัญในการลดภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น และมีบทบาทสำคัญในการลดภาวะโลกร้อน ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
ข้อดีของ Blue Carbon
- มีประสิทธิภาพสูง “Blue Carbon” กักเก็บคาร์บอนได้มากกว่าระบบนิเวศบนบก
- ความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศ “Blue Carbon” เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลหลากหลายสายพันธุ์
- ความยั่งยืน การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศ “Blue Carbon” ช่วยสร้างรายได้ให้ชุมชนชายฝั่ง
ข้อจำกัดของ Blue Carbon
- พื้นที่จำกัด พื้นที่ “Blue Carbon” มีจำกัด
- ภัยคุกคาม ระบบนิเวศ “Blue Carbon” เผชิญกับภัยคุกคามจากมลพิษ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
แม้ว่าบางแหล่งหญ้าทะเลอาจมีการปรับปรุงสภาพเพื่อทำให้ดีขึ้น แต่ก็ยังมีส่วนที่ถูกทำลายโดยกิจกรรมมนุษย์ เช่น การสร้างเขื่อน ท่าเรือ รีสอร์ท การพัฒนาพื้นที่ตามชายฝั่ง การทำประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ดังนั้นผู้ประกอบการ SME ควรให้ความสำคัญตั้งแต่กระบวนการผลิตที่ส่งผลต่ำต่อการปล่อยคาร์บอนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างสมดุลทางระบบนิเวศและเชื่อมโยงกับสังคมที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำ ผ่านการดูดซับคาร์บอนจากป่าไม้หรือ Green Carbon และระบบนิเวศทะเลหรือ Blue Carbon รวมถึงการเพิ่มรายได้จากธุรกิจสีเขียวที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต
โทรศัพท์ 050 000 864 , 090 456 6646
Facebook : EV Power Energy
Instagram : evpowerenergy
Line : @evpowerenergy
ให้บริการและให้คำปรึกษาโดยทีมช่างที่ชำนาญและมีประสบการณ์
สนใจ คาร์บอนเครดิต คลิก
*ระยะเวลาคืนทุนขึ้นอยู่กับการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน