เตรียมความพร้อม ติด EV Charger ที่บ้าน อย่างไรดี?
คำถามที่ค่อนข้างพูดถึงบ่อยเมื่อพิจารณาซื้อรถยนต์ EV คือว่าจำเป็นต้องติด EV Charger ที่บ้านหรือไม่? การตอบคำถามนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องพิจารณา แต่เรามาดูกันดีกว่าว่าการมี EV Charger ที่บ้านนั้นอาจจะไม่จำเป็น แต่ก็มีประโยชน์อย่างมาก
ข้อดีหลักของการติด EV Charger ที่บ้าน คือ ความสะดวกสบาย หากคุณใช้รถตลอดวันแล้วแบตเตอรี่เริ่มจะกลายเป็นเหลือง คุณก็สามารถมั่นใจได้ว่าเมื่อถึงบ้านแล้วคุณจะมีที่ชาร์จที่พร้อมให้บริการ ไม่จำเป็นต้องมองหาที่ชาร์จ หรือเสี่ยงการไม่พบที่ชาร์จในที่ต่าง ๆ นอกจากนี้ การมี EV Charger ที่บ้านยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก เพราะคุณสามารถชาร์จรถในราคาไฟที่ถูกกว่าการชาร์จนอกบ้านอีกด้วย
การติดตั้ง EV Charger ที่บ้านเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ง่าย ๆ และมีขั้นตอนที่เราสามารถทำได้ด้วยตนเอง ในบทความนี้เราจะรวบรวมขั้นตอนและข้อมูลที่คุณควรรู้เมื่อต้องการติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน เพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างมั่นใจ
ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน
1. ตรวจสอบมิเตอร์ไฟฟ้า
ระบบเฟสไฟฟ้า มี 2 ประเภท คือ 1 เฟส หรือ Single Phase 2 Wire และ 3 เฟส หรือ 3 Phase 4 Wire โดย 3 เฟส จะมีแรงดันไฟฟ้ามากกว่า 1 เฟส การเลือกใช้ระบบไฟฟ้า 1 เฟส หรือ 3 เฟส จำเป็นต้องพิจารณารุ่นของรถยนต์ไฟฟ้าและคุณสมบัติของเครื่องชาร์จที่จะติดตั้งควบคู่กัน
2. ขนาดแอมป์ของมิเตอร์ไฟฟ้า
หลังจากที่เราได้ดูรายละเอียดของเฟสไฟฟ้าแล้ว เราจะมาสำรวจขนาดของมิเตอร์กันต่อ โดยส่วนมากมิเตอร์ในบ้านจะมีขนาดทั่วไปคือ 5(15)A, 15(45)A, หรือ 30(100)A โดยตัวเลขที่กำกับนี้จะบ่งบอกถึงความจุและความสามารถในการทนกระแสไฟของมิเตอร์ เช่น เมื่อเราเห็นระบุว่า 15(45)A นั้นหมายความว่า มิเตอร์ขนาด 15 แอมป์ สามารถทนกระแสไฟได้สูงสุดถึง 45 แอมป์ จากนั้น เมื่อเราทราบว่ามิเตอร์ของเราเป็นแบบใดแล้ว จะสามารถตรวจสอบได้ว่ามิเตอร์ที่มีอยู่เหมาะสมหรือไม่ การไฟฟ้ามีข้อแนะนำมาว่าขนาดมิเตอร์ที่เหมาะสมในการติดตั้ง EV Charger คือ สำหรับไฟฟ้า 1 เฟสควรใช้มิเตอร์ขนาด 30 แอมป์ หรือ 30(100)A ขึ้นไป และสำหรับไฟฟ้า 3 เฟสควรใช้มิเตอร์ขนาด 45 แอมป์ หรือ 15(45)A หากมีมิเตอร์ขนาดนี้อยู่ที่บ้านแล้ว สามารถติดตั้ง EV Charger ได้เลย แต่ถ้ามิเตอร์ที่ใช้อยู่มีขนาดเล็กกว่า เช่น 5(15)A หรือ 15 แอมป์ ควรแจ้งให้การไฟฟ้าเปลี่ยนมิเตอร์เพื่อให้มีขนาดอย่างน้อย 15(45)A เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน EV Charger
3. ตรวจสอบขนาดสายเมน และตู้ MDB
หลังจากตรวจสอบมิเตอร์ไฟฟ้าแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการตรวจสอบขนาดของสายไฟเมน สายไฟเมน (หรือสายประธาน) คือสายไฟที่เชื่อมต่อมาจากมิเตอร์ไฟฟ้าไปยังแผงเมนสวิตช์ (หรือตู้เมนไฟหรือตู้ควบคุม MDB) หากพบว่าสายไฟเมนยังมีขนาดเดิมอยู่ที่ 16 มิลลิเมตร จะต้องทำการเปลี่ยนเป็นขนาด 25 ตารางมิลลิเมตร (ตร.มม.) ซึ่งเป็นขนาดหน้าของสายหรือขนาดของสายทองแดง รวมทั้งตรวจสอบตู้ Main Circuit Breaker (MCB) และควรเลือกใช้ตู้ที่สามารถรองรับกระแสไฟได้สูงสุดไม่เกิน 100 แอมป์ด้วย
4. ตรวจสอบเครื่องตัดไฟรั่ว หรือ RCD เพื่อความปลอดภัย
หากเกิดการใช้ไฟมากเกินไปและเกิดเหตุไฟฟ้าลัดวงจรหรือเหตุการณ์ฟ้าผ่า อาจเกิดเหตุร้ายแรงต่อผู้ใช้งานได้ ถ้าหากบ้านเราได้ติดตั้ง RCD (Residual Current Devices) หรืออุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วตามมาตรฐานแล้ว ควรมีการตั้งค่าพิกัดของกระแสไฟฟ้ารั่วไม่เกิน 30 mA โดยต้องตัดกระแสไฟรั่วภายในระยะเวลาเพียง 0.04 วินาที เมื่อเกิดไฟรั่วขนาด 5 เท่าของพิกัด (150 mA) อย่างไรก็ตามถ้ากรณีที่ EV Charger มีระบบตัดไฟอยู่แล้ว อาจไม่จำเป็นต้องเพิ่มอุปกรณ์ RCD เพิ่มเติม
5. ตรวจสอบความสามารถในการรับไฟของ On Borad Charger บนตัวรถก่อนติดตั้ง
เราควรตรวจสอบว่าเครื่องชาร์จที่ติดตั้งอยู่ในรถยนต์สามารถรับไฟได้ในขนาดเท่าใด โดยปกติแล้วจะมีความสามารถตั้งแต่ 3.6kW ถึง 22kW ซึ่งขึ้นอยู่กับรุ่นของรถยนต์ ค่านี้จะมีผลต่อเวลาในการชาร์จ ถ้ามีค่ามากก็จะชาร์จเต็มเร็วขึ้น ซึ่งการชาร์จก็จะเสร็จเร็วขึ้นด้วย เมื่อทราบขนาดการรับไฟของ On Board Charger แล้ว ควรเลือกติด EV Charger ที่มีกำลังไฟใกล้เคียงกัน
6. รูปแบบของหัวชาร์จรถไฟฟ้า
เมื่อเลือก EV Charger ควรพิจารณาหัวชาร์จที่เหมาะสมเข้ากับรถของเราด้วย เนื่องจากในปัจจุบันมีหัวชาร์จรถไฟฟ้าหลายรูปแบบให้เลือก จึงควรเลือกเครื่องที่มีหัวชาร์จที่เข้ากันได้กับรถของเรา หลายคนอาจสงสัยว่าหัวชาร์จรถไฟฟ้ามีแบบใดบ้าง เราได้รวบรวมข้อมูลมาสำหรับรถ EV ทั่วไปที่ใช้ในไทยแล้วพบว่ามีหัวชาร์จหลายรูปแบบ ดังนี้
โดยส่วนมากมักจะแบ่งตามประเทศที่ผลิตดังนี้
- Type 1 สำหรับรถญี่ปุ่นและแถบอเมริกา เช่น Nissan Leaf, Tesla รุ่นต่างๆ
- Type 2 สำหรับรถยุโรป เช่น Mercedes-Benz, BMW, Volvo, Porsche รุ่นต่างๆ ที่เป็นรถ EV
- Type GB/T สำหรับรถจีน เช่น BYD
7. เลือกจุดติดตั้ง
เมื่อคุณเตรียมพร้อมแล้ว ตอนนี้คุณสามารถเลือกซื้อ EV Charger ได้เลย อย่าลืมที่จะเลือกหัวชาร์จและกำลังไฟในการชาร์จให้เหมาะสมกับรถ EV ของคุณ นอกจากนี้ควรเลือกซื้อ EV Charger ที่มีมาตรฐาน มีการรับรองจากมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) หรือมีการรับรองจากมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอเทคนิกส์ระดับสากล หรือ IEC (International Electrotechnical Commission) และมีบริการติดตั้งเพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่าการติดตั้งจะถูกต้องและปลอดภัยที่สุดนั่นเอง
สนใจ EV Charger คลิก
*ระยะเวลาคืนทุนขึ้นอยู่กับการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน
ให้บริการและให้คำปรึกษาโดยทีมช่างที่ชำนาญและมีประสบการณ์
โทรศัพท์ 050 000 864 , 090 456 6646
Facebook : EV Power Energy
Instagram : evpowerenergy
Line : @evpowerenergy