ผลักดันธุรกิจ สร้าง “คาร์บอนเครดิต” ได้ด้วยการติด “โซล่าเซลล์”
ในยุคปัจจุบันที่กำลังเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะโลกร้อน และการปรับเปลี่ยนของสภาพแวดล้อม การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอน) กลายเป็นเป้าหมายสำคัญที่ธุรกิจและองค์กรต่างๆ กำลังมุ่งมั่นที่จะ เป็น Carbon Neutrality คือการดูดซับหรือชดเชยคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณเท่ากับการที่ได้ปล่อยออกไปสู่อากาศนั่นเอง ดังนั้นแล้วการติดโซล่าเซลล์เพื่อสร้างพลังงานทดแทนจึงกลายเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้เป็นอย่างมาก
ตลาดคาร์บอนเครดิต (Carbon Market) หรือตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิต
ตลาดคาร์บอนเครดิต เปรียบเสมือนกลไกตลาดที่ใช้ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นการซื้อขายสิทธิ์ในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือมลพิษทางอากาศอื่นๆ มีเป้าหมายคือการกระตุ้นให้ธุรกิจลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด และสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ
ตลาดคาร์บอนเครดิตแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ (Mandatory carbon market)
คือ ตลาดคาร์บอนที่จัดตั้งขึ้นสืบเนื่องจากผลบังคับในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกฎหมายซึ่งต้องมีรัฐบาลเข้ามาเกี่ยวข้องในฐานะผู้ออกกฎหมายและเป็นผู้กำกับดูแลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยผู้ที่เข้าร่วมในตลาดจะต้องมีเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีผลผูกพันตามกฎหมาย (Legally binding target) อย่างไรก็ดีผู้ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเป้าหมายที่ตั้งไว้จะถูกลงโทษ และ/หรือ ผู้ที่สามารถปฏิบัติตามเป้าหมายที่ตั้งไว้จะสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ หรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับการบัญญัติกฎหมาย
2. ตลาดคาร์บอนแบบภาคสมัครใจ (Voluntary carbon market)
คือ ตลาดคาร์บอนที่ถูกสร้างขึ้นโดยไม่ได้มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมก๊าซเรือนกระจกมาบังคับการจัดตั้งตลาดเกิดขึ้นจากความร่วมมือกันของผู้ประกอบการหรือองค์กร เพื่อเข้าร่วมซื้อขายคาร์บอนเครดิต ในตลาดด้วยความสมัครใจโดยอาจจะมีการตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนเองโดยสมัครใจ (Voluntary) แต่ไม่ได้มีผลผูกพันตามกฎหมาย (Non-legally binding target)
ในประเทศไทยนั้นเป็นตลาดคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจที่มีการแข่งขันน้อย ซึ่งเป็นโอกาสดีสำหรับภาคธุรกิจที่จะเริ่มการจัดทำคาร์บอนเครดิต ผู้ประกอบการที่เริ่มจริงจังได้ก่อนจะได้รับประโยชน์มากในการซื้อ – ขาย คาร์บอนเครดิตในอนาคต
กิจกรรมที่สามารถเพิ่มคาร์บอนเครดิตได้มีหลากหลาย เช่น การติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อส่งเสริมพลังงานสะอาด, การปลูกป่า, การใช้เทคโนโลยีลดการปล่อยคาร์บอน และอื่น ๆ อีกมาก
คาร์บอนเครดิตจากการติดตั้งโซลาร์เซลล์
อย่างที่เราทราบกันดีว่า การติดโซล่าเซลล์ นอกจากไม่สร้างมลพิษหรือก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ยังสามารถช่วยลดการใช้พลังงานช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าที่เป็นต้นทุนทางธุรกิจ และสร้างคาร์บอนเครดิตได้อีกด้วย
โครงการ T-VER ประเภท Renewable Energy มอบโอกาสในการติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อเพิ่มคาร์บอนเครดิต โดยแบ่งขนาดโครงการตั้งแต่ไม่เกิน 5 เมกะวัตต์ และตั้งแต่ 15 เมกะวัตต์ ขึ้นไป
ข้อดีของการติดโซล่าเซลล์
- ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ
- สร้างแรงจูงใจให้ธุรกิจลดการปล่อยก๊าซ
- ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ
- ลดค่าใช้จ่ายส่วนของไฟฟ้าได้อย่างยั่งยืนตั้งแต่เริ่มใช้งาน นานกว่า 25 ปี
6 ขั้นตอนเพื่อพิจารณาเข้าโครงการ T – VER
- ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER โดยผู้พัฒนาโครงการ
- รับคำขอและตรวจสอบความครบถ้วนและความถูกต้องของเอกสารและหลักฐานโดยเจ้าหน้าที่องค์กรบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (เจ้าหน้าที่อบก.)
- พิจารณากลั่นกรองและทบทวนความถูกต้องโดยคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการและกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก
- พิจารณาขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER โดยคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
- แจ้งผลพิจารณาขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER โดยเจ้าหน้าที่องค์กรบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (เจ้าหน้าที่อบก.)
- ออกหนังสือรับรอง (Certificate) การขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER โดยเจ้าหน้าที่องค์กรบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (เจ้าหน้าที่อบก.)
เพื่อ รับสินเชื่อ คืนทุนไวขึ้น!!
*ระยะเวลาคืนทุนขึ้นอยู่กับการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน
ให้บริการและให้คำปรึกษาโดยทีมช่างที่ชำนาญและมีประสบการณ์
โทรศัพท์ 050 000 864 , 090 456 6646
Facebook : EV Power Energy
Instagram : evpowerenergy
Line : @evpowerenergy