Clicky
0 ฿0

วิธี คำนวณค่าไฟฟ้า ด้วยตนเองสามารถทำได้อย่างไร?

ในช่วงที่หลาย ๆ คนต้อง Work from home นั้นทำให้ผู้คนทั้งประเทศต้องอาศัยอยู่ในบ้านมากขึ้น เป็นผลให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของแต่ละบ้านเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้พอสิ้นเดือน บิลเรียกเก็บ ค่าไฟ มาถึงหลายคนเห็นตัวเลขแล้วถึงกับช็อคว่าทำไมถึงแพงแบบนี้!

วิธีคำนวณค่าไฟ ทำได้อย่างไร?

ระบบการคิด ค่าไฟ ของการไฟฟ้านั้น คิดแบบ “อัตราก้าวหน้า” หมายถึง การไฟฟ้ามีการกำหนดขั้นบันไดการใช้ไฟฟ้าเอาไว้ ยิ่งบ้านไหนใช้เยอะ ก็จะต้องจ่ายค่าไฟเยอะขึ้น ประกอบกับช่วงนี้เข้าสู่หน้าร้อน ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ต้องใช้ระบบทำความเย็นต้องทำงานหนักขึ้น

เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่จะเปิดใช้อะไรก็เป็นค่าใช้จ่ายไปหมด

ซึ่งรายละเอียดการคิดค่าไฟตามอัตราก้าวหน้า อ้างอิงจากการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) คือ

  • 35 หน่วยแรก เหมารวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน 85.21 บาท  
  • 115 หน่วยต่อไป หน่วยละ 1.1236 บาท
  • 250 หน่วยต่อไป หน่วยละ 2.1329 บาท
  • ส่วนที่เกินกว่า 400 หน่วย หน่วยละ 2.4226 บาท 

ถ้าบ้านไหนมีเครื่องใช้ไฟฟ้าเยอะ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องใช้ใช้พลังงานสูงอย่าง แอร์, เครื่องฟอกอากาศ, เครื่องทำน้ำอุ่น, เครื่องซักผ้า และเตารีด พอสมาชิกในบ้านกลับมาใช้เวลาอยู่ในบ้านมากขึ้น ยิ่งทำให้ค่าไฟแพงยิ่งขึ้นนั่นเอง

เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดใด กินไฟมากที่สุด

ประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าใช้กำลังไฟฟ้า (วัตต์)
เครื่องทำน้ำอุ่น1,500 – 12,000 
เครื่องปรับอากาศ1,200 – 3,300
เครื่องซักผ้า แบบมีเครื่องอบ3,000
เตารีดไฟฟ้า700 – 2,000
หม้อหุงข้าว450 – 1,500
เตาหุงต้มไฟฟ้า200 – 1,500
เครื่องดูดฝุ่น750 – 1,200
เครื่องปิ้งขนมปัง800 – 1,000
ไดร์เป่าผม100 – 1,000
เตาไมโครเวฟ100 – 1,000
เครื่องชงกาแฟ200 – 600
โทรทัศน์สี80 – 180
ตู้เย็น70 – 145
พัดลมเพดาน70 – 100
พัดลมตั้งพื้น20 – 75

ตัวอย่าง วิธีคำนวณค่าไฟฟ้า ด้วยตนเอง

วิธีคำนวณค่าไฟ เราต้องรู้อัตราค่าไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดนั้น โดยสังเกตได้จากกำลังไฟฟ้าที่มีหน่วยเป็นวัตต์ ยิ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีจำนวนวัตต์มาก ก็หมายความว่าจะใช้ไฟฟ้ามากขึ้นไปด้วย 

ดังนั้น ก่อนที่จะทำการคำนวนค่าใช้ไฟฟ้า จะต้องสำรวจว่าภายในที่อยู่อาศัยนั้น มีเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทไหนบ้าง และเปิดใช้งานประมาณเดือนละกี่ชั่วโมง จากนั้น นำมาคำนวณค่าใช้ไฟฟ้าด้วยสูตรดังต่อไปนี้

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷ 1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน = จำนวนหน่วยต่อวัน (ยูนิต)


ยกตัวอย่างการคำนวณ ค่าไฟ ของบ้านพัก A ซึ่งมีเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 9 ชนิด ดังนี้

  • หลอดไฟ ขนาด 50 วัตต์จำนวน 10 ดวง เปิดใช้งานวันละประมาณ 6 ชั่วโมง

วิธีคำนวณกำลังไฟฟ้า (วัตต์) ของหลอดไฟ คือ 50 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 10 ดวง ÷ 1,000 x 6 ชม. = 3 หน่วย/วัน (เดือนละ 90 หน่วย)  

  • ไมโครเวฟขนาด 600 วัตต์จำนวนหนึ่งเครื่อง เปิดใช้งานวันละ 30 นาที

วิธีคำนวณกำลังไฟฟ้า (วัตต์) คือ 600 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 1 เครื่อง ÷ 1,000 x 0.5 ชม. = 0.3 หน่วย/วัน (เดือนละ 9 หน่วย)

  • ตู้เย็นขนาด 125 วัตต์ หนึ่งตู้ เปิดใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง

วิธีคำนวณกำลังไฟฟ้า (วัตต์) คือ 125 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 1 ตู้ ÷ 1,000 x 24 ชม. = 3 หน่วย/วัน (เดือนละ 90 หน่วย)  

  • แอร์ขนาด 2,000 วัตต์จำนวน 2 เครื่องเปิดใช้งานวันละ 6 ชั่วโมง

วิธีคำนวณกำลังไฟฟ้า (วัตต์) คือ 2,000 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 2 เครื่อง ÷ 1,000 x 6 ชม. = 24 หน่วย/วัน (เดือนละ 720 หน่วย)  

  • เตาอบ ขนาด 850 วัตต์จํานวน 1 เครื่อง เปิดวันละ 30 นาที

วิธีคำนวณกำลังไฟฟ้า (วัตต์) คือ 850 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 1 เครื่อง ÷ 1,000 x 0.5 ชม. = 0.425 หน่วย/วัน (เดือนละ 12.75 หน่วย)

  • เครื่องชงกาแฟขนาดเล็ก 100 วัตต์ จํานวน 1 เครื่อง เปิด 1 ชั่วโมง

วิธีคำนวณกำลังไฟฟ้า (วัตต์) คือ 100 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 1 เครื่อง ÷ 1,000 x 1 ชม. = 0.1 หน่วย/วัน (เดือนละ 3 หน่วย)  

  • ทีวี ขนาด 300 วัตต์ จํานวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 5  ชั่วโมง

วิธีคำนวณกำลังไฟฟ้า (วัตต์) คือ 300 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 1 เครื่อง ÷ 1,000 x 5 ชม. = 1.5 หน่วย/วัน (เดือนละ 45 หน่วย)

สรุปได้ว่า บ้านพัก A จะใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 969.75 หน่วยต่อเดือน
โซล่าเซลล์เชียงใหม่ พลังงานสะอาด โซล่า

วิธีคำนวณค่าไฟฟ้า บ้านพัก A นั้น ใช้ค่าไฟฟ้าไปประมาณ 969.75 หน่วยต่อเดือน ดังนั้น จะสามารถคำนวณค่าไฟฟ้า ที่อ้างอิงจาก การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้ดังนี้

35 หน่วยแรก เหมารวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน 85.21 บาท

115 หน่วยต่อไป หน่วยละ 1.1236 บาท = 115 x 1.1236 บาท รวมทั้งสิ้น 129.21 บาท

250 หน่วยต่อไป หน่วยละ 2.1329 บาท = 250 x 2.1329 บาท รวมทั้งสิ้น 533.23 บาท  

ส่วนที่เกินกว่า 400 หน่วย หน่วยละ 2.4226 บาท = (969.75 – 400) = 569.75 x 2.4226 บาท) 1,380.28 บาท

รวมเป็นเงิน (85.21 + 129.21 + 533.23 + 1,380.28) = 2,127.93 บาท

ทั้งนี้ รายละเอียดตามตัวอย่างเป็นวิธีการคำนวณ ค่าไฟ ในเบื้องต้น ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าใช้จ่ายที่การไฟฟ้านครหลวงเรียกเก็บ นอกจากนี้ ราคาค่าไฟฟ้าต่อหน่วยนั้น อาจมีเปลี่ยนแปลงได้

สินค้าในตะกร้า
ไม่มีสินค้าในตะกร้า
Calculate Shipping
ใช้โค้ดส่วนลด