Net Metering หรือ การวัดไฟฟ้าแบบสุทธิ เป็นระบบที่ช่วยให้ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม สามารถส่งไฟฟ้าที่ผลิตเกินความต้องการของตนเองเข้าสู่ระบบไฟฟ้าสาธารณะ และแลกเป็นเครดิตหรือส่วนลดค่าไฟฟ้าในรอบบิลถัดไป
Net Metering หรือ การวัดไฟฟ้าแบบสุทธิ เป็นระบบที่ช่วยให้ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม สามารถส่งไฟฟ้าที่ผลิตเกินความต้องการของตนเองเข้าสู่ระบบไฟฟ้าสาธารณะ และแลกเป็นเครดิตหรือส่วนลดค่าไฟฟ้าในรอบบิลถัดไป
Q: หากแสงแดดไม่เพียงพอ จะมีผลกระทบต่อกระแสไฟของโซล่าหรือไม่ ?
A: ระบบโซล่าจะผลิตไฟฟ้าตามช่วงความเข้มแสง ถ้าหากมีความเข้มแสงที่เหมาะสม จะส่งผลให้ระบบโซล่าผลิตไฟฟ้าได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะมีแดดอ่อนๆ หากความเข้มของแสงเหมาะสม โซล่าเซลล์ก็ยังสามารถผลิตไฟได้ แต่หากความเข้มของแสงไม่เพียงพอ โซล่าเซลล์ก็จะผลิตไฟฟ้าได้ไม่เต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควร
Q: น้ำยาเคลือบโซลาร์เซลล์ (Nano Cloating) มีผลดีต่อแผงโซล่าเซลล์อย่างไร?
A: เป็นผลิตภัณฑ์น้ำยาเคลือบแผงโซล่าเซลล์ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติการลดการเกาะของฝุ่นให้แก่พื้นผิว รวมถึงทำให้น้ำ น้ำมัน หรือของเหลวที่ตกกระทบผิววัสดุมีลักษณะเป็นก้อนกลมกลิ้งไหลออกจากแผ่น ลดการยึดเกาะและชำระล้างฝุ่นรวมถึงสิ่งสกปรกต่างๆ ออกจากแผงโดยไม่ทิ้งคราบน้ำ ทำให้แผงผลิตไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 5 ในช่วงหน้าแล้งอีกด้วย
Q: ค่า FT คืออะไร แล้วเกี่ยวข้องอะไรกับระบบโซล่าเซลล์?
A: ค่า FT – ปัจจุบันย่อมาจาก ‘Fuel Adjustment Charge (at the given time)’ เป็นต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐที่เปลี่ยนแปลงไปจากค่าไฟฐาน โดยมีการเก็บข้อมูลและปรับทุก 4 เดือน คำนวณจาก2 ปัจจัยคือ 1. ค่าเชื้อเพลิง ที่แปรผันตามสถานการณ์ 2. ค่าความพร้อมจ่าย (AP) ค่าการสำรองไฟฟ้า โดยเกิดจากการคาดการณ์ว่าเราจะใช้ไฟฟ้ากี่เมกะวัตต์ (MW) โดยสำรองไว้มากกว่าความต้องการสูงสุด (Peak) ที่ 15 %
ซึ่งถ้าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงขึ้น จะส่งผลให้ค่า FT และค่าไฟฟ้า ปรับสูงขึ้นตาม
“ดังนั้นแล้ว หากติดตั้งระบบโซล่าเซลล์จะสามารถช่วยลดค่าไฟได้”
ใครว่าแสงอาทิตย์ไม่สำคัญ วันนี้เรามาดูกันว่าประโยชน์จากแสงอาทิตย์ มีอะไรบ้าง แสงอาทิตย์ขึ้นชื่อได้ว่าเป็นพลังงานธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ ช่วยในการสังเคราะห์แสง ช่วยให้ร่างกายสร้างวิตามินดี และช่วยให้อารมณ์ดี ดังนี้
Solar Rooftop หรือ ระบบโซล่าเซลล์บนหลังคา กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก ด้วยกระแสการประหยัดพลังงาน และลดค่าไฟ แต่ก่อนตัดสินใจติดตั้ง ยังมีหลายสิ่งที่ควรรู้ เพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และปลอดภัย
Q: อะไรที่ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของแผงลดลงบ้าง ?
A: สิ่งที่ลดความเข้มของแสง เช่น เงา, เมฆ, ฝุ่น, ใบไม้, ความลาดเอียงของการติดตั้ง อย่างไรก็ตามตลอดอายุสัญญาโครงการ ทางบริษัทจะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
Q: ทำไมคนถึงเลือกติดตั้งระบบโซล่าเซลล์แบบออนกริดมากที่สุด
A: ด้วยเหตุผลที่ว่า การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์แบบออนกริด เป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะว่าเหมาะสำหรับบ้าน อาคาร หรือสถานประกอบการที่มีการใช้ไฟฟ้ากลางวันเยอะ ต้องการประหยัดค่าไฟ และต้องการคืนทุนเร็ว แถมยังถ้าไฟผลิตเหลือยังสามารถขายคืนให้กับการไฟฟ้าได้อีกด้วย
แผงโซล่าเซลล์เป็นอุปกรณ์ผลิตพลังงานสะอาดที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงและช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน อย่างไรก็ตาม แผงโซล่าเซลล์อาจได้รับสิ่งสกปรก เช่น ฝุ่น ละออง นก ขี้นก ฯลฯ เกาะติดอยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์ได้ สามารถลดกำลังการผลิตของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังแสงได้ถึง 20%
Q: ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ไปแล้ว จะขายไฟได้หรือไม่ ถ้าขายได้ทำอย่างไร?
A: เมื่อติดตั้งระบบโซล่าเซลล์แล้ว คุณสามารถขายไฟฟ้าที่ผลิตได้ส่วนเกินกลับไปยังระบบไฟฟ้าสาธารณะได้ ในปัจจุบันนี้สามารถขายไฟคืนให้กับการไฟฟ้าได้ หน่วยละ 2.20 บาท ทำสัญญานานถึง 10 ปี และที่สำคัญทาง EV Power Energy ดำเนินเรื่องการขออนุญาตให้เสร็จสิ้นทุกขั้นตอน พร้อมติดตามสถานะการขายไฟให้ตลอดอย่างแน่นอน !
ระบบโซล่าเซลล์ เปรียบเสมือนการลงทุนระยะยาว ที่นอกจากจะช่วยประหยัดค่าไฟแล้ว ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่การจะใช้งานระบบโซล่าเซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีบริการหลังการขายที่ดี เพื่อดูแลรักษาระบบให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน ปลอดภัย และคุ้มค่า
Q: การทำงานของระบบโซลล่าเซลล์เป็นอย่างไร?
A: เมื่อมีแสงอาทิตย์มาตกกระทบแผงโซล่าเซลล์ จะเกิดการเปลี่ยนจากพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC current) ส่งผ่านเครื่องแปลงไฟ (อินเวอร์เตอร์) เพื่อแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Current) และจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในอาคาร (MDB) และจะผสมกับไฟฟ้าของการไฟฟ้า จากนั้นจะไหลไปสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ อย่างอัตโนมัติ