Clicky
0 ฿0

เทรนด์ใหม่!! คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ดัชนีวัดความยั่งยืน ที่ธุรกิจยุคนี้ต้องให้ความสำคัญ

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง เช่น การใช้พลังงาน การเกษตรกรรม การพัฒนาและการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง การตัดไม้ทำลายป่า รวมทั้งการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบอื่น ๆ ทั้งนี้เป็นสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อน ซึ่งเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากผลกระทบของภาวะโลกร้อน ประเทศต่างๆ ทั่วโลกเริ่มตื่นตัวในการดำเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization หรือ Corporate Carbon Footprint: CCF) เป็นวิธีการประเภทหนึ่งในการแสดงข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากการดำเนินงานขององค์กร ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในระดับโรงงาน ระดับอุตสาหกรรม และระดับประเทศ

บลูคาร์บอน (Blue Carbon) : แหล่งกักเก็บคาร์บอนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดผ่านระบบนิเวศสู่ Net Zero ได้เร็วขึ้น

ท่ามกลางวิกฤตการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกลายเป็นภารกิจเร่งด่วน หนึ่งในแนวทางสำคัญคือ การเสริมสร้าง “แหล่งกักเก็บคาร์บอน” ธรรมชาติ ซึ่ง “Blue Carbon” หรือคาร์บอนในระบบนิเวศทางทะเล กลายเป็นดาวเด่นที่น่าจับตาในตอนนี้

คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) ทำแบบไหนได้บ้าง

ปัจจุบันความต้องการคาร์บอนเครดิตมีเป็นจำนวนมากและในอนาคตก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากกระแสความตื่นตัว ความมุ่งมั่นและนโยบายต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับองค์กรที่มีเป้าหมายที่จะเป็น Carbon Neutrality, Net Zero Emissions และความต้องการคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยในภาคบริการ เรามาดูกันว่าลักษณะการดำเนินโครงการ T-VER มีกี่รูปแบบ ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จัก โครงการ T-VER แบบคร่าว ๆ กันก่อนดีกว่า

คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) ทำได้ผ่านกิจกรรมใดบ้าง

การซื้อขายคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Trading) คือ กระบวนการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยผู้ที่มีโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสามารถขายคาร์บอนเครดิตให้กับองค์กรที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนเอง

เที่ยวอย่างไรไร้คาร์บอน

“Carbon-Neutral Travel” หรือการท่องเที่ยวแบบปราศจากคาร์บอน คือ การท่องเที่ยวที่มีแนวคิดและการปฏิบัติที่มุ่งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจก ที่ทำให้การท่องเที่ยวหรือกิจกรรมในทริปให้เป็นศูนย์ หรือน้อยที่สุด ในเมื่อยุคนี้ผู้คนหันมาตระหนักรู้ และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น การท่องเที่ยวไร้คาร์บอนจึงกลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจและจำเป็นสำหรับนักท่องเที่ยวทุกคน

คาร์บอนเครดิตป่าไม้ : ลดก๊าซเรือนกระจก สร้างรายได้

ในยุคที่โลกเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การจัดการคาร์บอนจึงได้กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หนึ่งในแนวทางที่น่าสนใจคือการใช้ ‘คาร์บอนเครดิตป่าไม้’ ซึ่งเป็นมาตรการที่เชื่อมโยงการอนุรักษ์ป่าไม้กับตลาดคาร์บอน

สินค้าในตะกร้า
ไม่มีสินค้าในตะกร้า
Calculate Shipping
ใช้โค้ดส่วนลด